ความกระด้างของน้ำ จะเป็นการวัดปริมาณเกลือแคลเซียมและแมกนีเซียมที่ถูกละลายและเจือปนอยู่ในน้ำ โดยจะวัดออกมาในหน่วย ppm หรือ mg/L.

น้ำกระด้าง กล่าวโดยง่าย ก็คือ น้ำที่จะทำให้สบู่เกิดฟองได้ยากและใช้เวลานาน และถ้าน้ำกระด้างนี้ได้รับความร้อน ก็จะทำให้ตะกรันในระบบขึ้น และจะไปเกาะตามท่อ หรือพื้นผิวที่ใช้ถ่ายเทความร้อน ทำให้เกิดการอุดตัน รวมถึงประสิทธิภาพการถ่ายเทความร้อนลดลง และท่อก็จะมีความร้อนสะสมสูงขึ้น ดังนั้น เราควรวัดความกระด้างของน้ำ (Hardness) เพื่อช่วยตรวจสอบและปรับปรุงคุณภาพของน้ำก่อนนำไปใช้งาน

การแบ่งเกณฑ์ของน้ำกระด้าง เป็นดังนี้ 

  • ความกระด้าง 0 ถึง 75 mg/L เรียกว่า น้ำอ่อน 
  • ความกระด้าง 75 ถึง 150 mg/L เรียกว่า น้ำกระด้างปานกลาง
  • ความกระด้าง 150 ถึง 300 mg/L เรียกว่า น้ำกระด้าง
  • ความกระด้าง 300 mg/L ขึ้นไป เรียกว่า น้ำกระด้างมาก

(ที่มา : กรมควบคุมมลพิษ http://pcd.go.th/info_serv/reg_std_water01.html )

ดังนั้น น้ำที่นำมาใช้งานทั่วไป ควรมีค่าความกระด้างไม่เกิน 200 mg/L , น้ำดื่มบรรจุขวด ตามมาตรฐาน ต้องไม่เกิน 100 mg/L และน้ำที่ใช้สำหรับหม้อไอน้ำ ควรมีค่าไม่เกิน 10 mg/L

Showing all 7 results